วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ประเภทของนิทาน

ใครรู้ประเภทของนิทานกรุณาเข้ามาตอบกันนะคะ

2 ความคิดเห็น:

  1. การแบ่งประเภทนิทานพื้นบ้าน

    การแบ่งนิทานมีวิธีการแบ่งและใช้คำแตกต่างกันไปบ้าง ในที่นี้จะได้จัดจำแนกประเภทนิทานตามรูปแบบของนิทานออกเป็น 14 ประเภท ดังนี้

    การแบ่งนิทานพื้นบ้านดังที่กล่าวมาแล้ว เป็นแนวทางในการแบ่งอย่างกว้างๆที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป แต่มิใช่เป็นหลักตายตัว นิทานบางเรื่องอาจจะมีลักษณะเนื้อหาคาบเกี่ยวกันบ้าง ผู้ศึกษาควรพิจารณาวัตถุประสงค์และทัศนคติของผู้เล่าประกอบกับลักษณะและเนื้อเรื่องของนิทานว่ามีลักษณะใดที่เห็นเด่นชัดแล้วจึงจัดจำแนกเข้าหมวดหมู่

    เดชา เพ็ชรรัตน์ 484186209

    ตอบลบ
  2. นิทานที่เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมานี้จะมีลักษณะเฉพาะ คือ (ไพรถ เลิศพิริยกมล 2512:7)

    1. จะต้องเป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา ใช้ภาษาชาวบ้านทั่วไป

    2. เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งในตอนหลังอาจนำมาเขียนขึ้น
    ตามที่เล่าไว้

    3. ไม่ปรากฏว่าใครเป็นคนเล่าดั้งเดิม เป็นแต่รู้ว่าเคยได้ยินได้ฟังมา หรือเขาเล่าว่า
    หรือบรรพบุรุษเป็นผู้เล่าให้ฟัง

    การแบ่งนิทาน มีผู้ศึกษานิทานและพยายามจัดหมวดหมู่หรือแบ่งแยกเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ซึ่งแบ่งได้หลายวิธี ดังนี้

    1. แบ่งนิทานตามเขตพื้นที่ คือ พบนิทานที่ถิ่นใดก็เป็นของถิ่นนั้น เช่น เขตอินเดีย เขต
    ประเทศนับถือศาสนาอิสลาม เขตชนชาติยิวในเอเซียไมเนอร์ เป็นต้น

    2. แบ่งนิทานตามแบบของนิทาน แบ่งออกได้ ดังนี้
    2.1 นิทานปรัมปรา
    2.2 นิทานท้องถิ่น แยกย่อยเป็น
    - นิทานอธิบายสิ่งต่าง ๆ
    - นิทานเกี่ยวกับความเชื่อ
    - นิทานวีรบุรุษ
    - นิทานนักบวช
    - นิทานเกี่ยวกับสมบัติที่ฝังไว้
    - นิทานสอนใจ
    2.3 เทพนิยาย
    2.4 นิทานสัตว์ แบ่งเป็น
    - นิทานสอนคติธรรม
    - นิทานเล่าไม่รู้จบ
    2.5 นิทานตลก

    3. แบ่งนิทานตามชนิดของนิทาน เป็นการแบ่งตามแบบที่ 2 ที่แบ่งให้ย่อย
    แต่ละชนิดละเอียดลงไปอีก

    4. แบ่งนิทานตามสารัตถะของนิทาน หมายถึงการพิจารณาที่ "แก่น" (element)
    ของนิทาน เป็นหลัก ในการจัดหมวดหมู่นิทาน การแบ่งโดยใช้ "แก่น" ของนิทานนี้จะแบ่งได้ละเอียดที่สุด
    ในที่นี้จะกล่าวถึงนิทานชาวบ้านตามแบบที่ 2 เพราะส่วนใหญ่นิยมใช้และเข้าใจ

    ตอบลบ